วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รูปภาพการทำเครื่องปั้นดินเผา




สมัยเชลียงหรือสมัยขอมมีอำนาจ (ประมาณ พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1600 ) ขอมมีอำนาจและตีอาณาจักรมอญได้ราว พ.ศ. 1600 เครื่องปั้นดินเผาที่พบในสมัยนี้มีเทคนิคในการปั้นและมีความงดงาม แบ่งได้ 3 พวก คือ
1. ทำโดยช่างไทย รูปทรงและความงามส่วนใหญ่วิวัฒนาการมาจากแบบไทยปและอาณาจักรอ้ายลาวกับน่านเจ้าตอนต้น ใช้เคลือบขี้เถ้าผสมกับดินแดงเผาสุกแล้วเป็นสีน้ำตาล แต่บางทีค่อนข้างดำ และยังมีเคลือบขาวหม่น ซึ่งเรียกว่า "เคลือบขุ่น" (White matt glaze) ใช้ขี้เถ้ากับน้ำเป็นเคลือบ ใช้ความร้อนเผาประมาณ 1200 - 1300 ซ. ในสมัยนี้ไทยส่งไปขายทางหมู่เกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะใกล้เคียงอื่นๆ
2. ทำโดยช่างขอม ขอมได้รับอิทธิพลจากการปั้นรูปและวิธีเคลือบจากไทย แต่ขอมใช้ดินแดงอย่างเดียว รูปทรงภายนอกมีส่วนโค้งมาก เพิ่มลวดลายด้วยการแต่งบนแป้นหมุน
3. ทำโดยช่างมอญ มีการพัฒนาการทางรูปร่างและการประดิษฐ์มากขึ้น ที่แพร่หลายก็คือเครื่องปั้นดินเผา และภาพปั้นดินเผา (Figure Pottery) ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบในสมัยนี้ มีแต่ขัดมันด้วยน้ำดินข้น ซึ่งมอญทำได้ดียิ่ง มีความทนทานอยู่ได้เป็นพันๆ ปี



ประวัติความเป็นในไทยสมัยสมัยสุวรรณภูมิ

สมัยสุวรรณภูมิ (อ้ายลาว ประมาณ พ.ศ. 300 - พ.ศ. 800) เนื่องจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พวกอินเดีย มอญ ขะแมร์ จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย การทำเครื่องปั้นดินเผาได้เจริญขึ้น และมีรูปทรงต่างๆ ซับซ้อนกว่าเดิม แตกต่างกับช่างไทย ซึ่งยังคงพัฒนาการมาจากหม้อทะนน และเป็นแบบของอาณาจักรอ้ายลาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น